แนวโน้มการปรับฐานซื้อขายที่ดินใหม่ที่จะเกิดขึ้น
อสังหาริมทรัพย์ หากอธิบายง่ายๆ ตามความเข้าใจของคนทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายหรือเอาไปไหนมาไหนไม่ได้ เพราะติดอยู่กับที่ดิน หรือมีน้ำหนักมาก เช่นสิ่งปลูกสร้าง อย่างบ้าน โรงแรม หรือเป็นสิ่งที่ติดอยู่กับดินอย่าง ต้นไม้ เป็นต้น ในส่วนของความหมายในเชิงวิชาการ อสังหาริมทรัพย์ ตามบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139 ได้บัญญัติความหมายไว้ว่า อสังหาริมทรัพย์ คือที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะถาวะประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดินนั้น และรวมไปจนถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรืออยู่ติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ดังนั้นตามบทบัญญัติความหมายของอสังหาริมทรัพย์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว จึงทำให้เราสามารถที่จะแยกทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ดังนี้
- ที่ดิน หมายถึงเนื้อที่ ที่อาจจะเป็นแปลง หรือไร่ แต่ในกรณีที่มีการขุดดินออกไปขาย ดินที่ขุดจากที่ดินนั้นจะไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ เพราะดินนั้นไม่ใช่เนื้อดิน ดังนั้นความหมายของดินในบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 139 จึงหมายถึงดินที่เป็นเนื้อดินเท่านั้น เป็นดินที่อาศัยอยู่ หรือเหยียบย่ำอยู่ ซึ่งโดยสภาพแล้วดินที่มีลักษณะเป็นเนื้อดินจึงไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้นในส่วนของกฎหมายอาญา การลักทรัพย์ที่ดินจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่สามารถที่จะมีกรณีของการเข้าแย่งที่ดินได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความผิดฐานบุกรุกนั่นเอง
- ทรัพย์ติดที่ดินถาวร โดยหมายถึงทรัพย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมไปจนถึงทรัพย์ที่มีมนุษย์เอามาตั้งไว้ แต่จะต้องมีความถาวร ไม่หลุดหรือสามารถที่จะแยกออกจากดินได้โดยง่าย เช่น อาคาร บ้านเรือน ต้นไม้ ที่เป็นต้นไม่ใหญ่ๆ ไม่ใช่ต้นไม้ในกระถาง ต้นไม้ที่มีการชอนไชรากลงในดิน และต้องเป็นต้นไม้ยืนต้น ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ดังนั้นพืชล้มลุก หรือพืชผักต่างๆ ก็ไม่นับว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์
- ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน หมายถึงทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง กรวด ทราย ก้อนหิน ภูเขา ทางน้ำไหล
- ทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน นับว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สามารถที่จะจับต้องได้ แต่มีราคา สามารถที่จะซื้อขาย หรือเช่าได้ สามารถที่จะยึดถือเป็นเจ้าของได้และต้องมีผู้ทรงสิทธิด้วย เช่น กรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือเรียกง่ายๆว่า ความเป็นเจ้าของที่ดิน สิทธิการครอบครอง หรือสิทธิการครอบครองใช้ประโยชน์ สิทธิอาศัย เป็นต้น โดยสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สิทธิ ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็ยังมีทรัพย์สิทธิที่ติดอยู่กับที่ดิน เรียกว่า สิทธิอาศัย หรือหมายถึงสิทธิที่จะได้อยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าว สามารถที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาเพื่ออาศัยอยู่ หรือทำธุรกิจใดๆ ได้